หลักสูตร

     ชื่อหลักสูตรและปริญญา

                ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

                                BACHELOR  OF  NURSING  SCIENCE  PROGRAM

                ชื่อปริญญา

                                พยาบาลศาสตรบัณฑิต

BACHELOR  OF  NURSING  SCIENCE

                                ชื่อย่อ     พย..

                                                B.N.S.                   

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ภายหลังสำเร็จการศึกษา  บัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์  คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  จะมีความสามารถดังนี้

1.  ใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลอย่างเหมาะสม  เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันการเจ็บป่วย  การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพในขอบเขตของวิชาชีพโดยยึดหลักการพยาบาลแบบองค์รวม

2.  ประยุกต์ศาสตร์การพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการพยาบาล   เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพแก่บุคคล  ครอบครัว  และชุมชน  ได้อย่างมีคุณภาพบนพื้นฐานแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพ

                3.  นำแนวคิด  หลักการ ทฤษฏีที่ส่งเสริมการดูแลตนเองไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

                4.   เป็นผู้นำ  บริหาร  จัดการ   และสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

5.   ปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรในทีมสุขภาพ  และประสานงานกับบุคคลอื่นทั้งในและนอกองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.       มีความสนใจใฝ่รู้  พัฒนาตนเองและวิชาชีพ

7.       สนับสนุนและร่วมมือในการศึกษาวิจัยพร้อมทั้งนำผลวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงาน

8.       มีความสำนึกในหน้าที่  ความรับผิดชอบที่มีต่อตนเอง  วิชาชีพส่วนรวมและประเทศชาติ

9.   เป็นพลเมืองดีของสังคม  สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย  ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การคัดเลือกเข้าศึกษา

*   รับจากการสอบตรง   ดำเนินการรับสมัครและสอบโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

-    สอบตรงทั่วไป    จำนวน 25 คน

-    โควตา จ.นครนายก   จำนวน 5 คน

          -  โครงการร่วมผลิตบัณฑิตพยาบาลเพื่อการพัฒนาสุขภาพชุมชน จำนวน 20 คน

              (จังหวัดละ 5 คน ได้แก่  จ.นครนายก ,จ.ฉะเชิงเทรา ,จ.ปราจีนบุรี, จ.สระแก้ว)

           -  โครงการผลิตบัณฑิตโดยรับจากผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล

              จำนวน 5 คน 

*   รับจากการสอบผ่านสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา  (Admission กลาง)  จำนวน 45 คน

 

ระยะเวลาการศึกษา

เป็นหลักสูตรการศึกษาเต็มเวลา  ระดับปริญญาตรี  มีระยะเวลาการศึกษา  4  ปีการศึกษา  กล่าวคือ  8  ภาคการศึกษาปกติ  และ  2  ภาคการศึกษาฤดูร้อน  และไม่เกิน  8  ปีการศึกษา  หรือ  16  ภาคการศึกษาปกติและ 4 ภาคการศึกษาฤดูร้อน  โดยต้องศึกษาครบหน่วยกิตตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร  คือ  ไม่น้อยกว่า  143  หน่วยกิต

 

การจัดการเรียนการสอน

*   ชั้นปีที่  1  ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิชาศึกษาทั่วไป

*   ชั้นปีที่  2  ศึกษาวิชาพื้นฐานวิชาชีพ  เช่น  กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา  เภสัชวิทยา  ฯลฯ  และการพยาบาลพื้นฐาน

*   ชั้นปีที่ 3 และ 4 ศึกษาภาคทฤษฎีและปฏิบัติวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น  ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  มารดาและการผดุงครรภ์  ชุมชน  สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงสร้างหลักสูตร  

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  143  หน่วยกิต  แบ่งเป็น  4  หมวดวิชาดังนี้

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                   30           หน่วยกิต

                1)  กลุ่มวิชาบูรณาการ                                         10           หน่วยกิต

                2)  กลุ่มวิชาภาษา                                 10           หน่วยกิต

                3)  กลุ่มวิชาสารสนเทศ                                        2            หน่วยกิต

                4)  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                                     2            หน่วยกิต

                5)  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                    2            หน่วยกิต

                6)  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์         2            หน่วยกิต

                7)  กลุ่มวิชาพลศึกษา                                            2            หน่วยกิต

 

2. หมวดวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน                  12           หน่วยกิต

 

3. หมวดวิชาเฉพาะ                                                            95           หน่วยกิต

                1)  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                              24           หน่วยกิต

                2)  กลุ่มวิชาชีพ                                                    71           หน่วยกิต

                                -  ภาคทฤษฎี                                         46           หน่วยกิต

                                -  ภาคปฏิบัติ                                         25           หน่วยกิต

                                    (1)  ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ        21           หน่วยกิต

                                    (2)  ปฏิบัติการทางคลินิก                 4            หน่วยกิต                                                              

4. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                          6            หน่วยกิต